More

    7 เรื่องควรรู้เมื่อถูกไฟแนนซ์ ” ยึดรถ ” ต้องรับมืออย่างไรบ้าง??

    สำนักงานกิจการยุติธรรม เปิดเผยสาระน่ารู้เกี่ยวกับกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมไทย เกี่ยวกับ 7 ข้อควรรู้เมื่อไฟแนนซ์มา “ ยึดรถ ” เพื่อให้ประชาชนที่กำลังประสบปัญหาได้มีแนวทางในการแก้

    สาเหตุที่ไฟแนนซ์ “ยึดรถ” ของคุณคือ

    1.ค้างค่าเช่าซื้อ รวม 4 งวด ถึงโดนยึดรถ

    ไฟแนนซ์จะสามารถยึดรถได้ก็ต่อเมื่อ มีการค้างชำระค่าเช่าซื้อ 3 งวดติดต่อกันขึ้นไป ก่อนยึดรถอีก 1 เดือน รวมเป็น 4 เดือน ซึ่งถ้าไฟแนนซ์ยึดรถก่อนกำหนดจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 (คุ้มครองเกี่ยวกับสัญญา)

    ดังนั้นผู้เช่าซื้อสามารถไกล่เกลี่ยประณีประนอมขอผ่อนชำระในช่วงระยะเวลานี้ได้ แต่หากไม่สามารถรับผิดชอบยอดหนี้ได้ ต้องจำยอมให้ทางบริษัทยึดรถ หากไฟแนนซ์มายึดรถก่อนระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจมาเป็นพยานในการเจรจา เพราะบริษัทไฟแนนซ์ไม่สามารถบังคับ หรือข่มขู่ได้

    *รถมอเตอร์ไซค์คือทรัพย์สินของบริษัทไฟแนนซ์ ซึ่งสามารถยึดได้ตามกฎหมายกำหนดในระยะเวลาที่ผู้เช่าซื้อมีการค้างผ่อนชำระเกิน 4 เดือน โดยบริษัทจะยื่นฟ้องและจะมีคำสั่งศาลขอเป็นหมายยึด

    2.บริษัทไฟแนนซ์สามารถเรียกค่าเสียหายได้ตามจริงเท่านั้น

    บริษัทไฟแนนซ์บางแห่งมักจะมีการขู่เรียกค่าเสียหายสูง ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่สามารถเรียกค่าใช้จ่ายได้ตามอำเภอใจ การค่าเสียหายเรียกได้ตามค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น

    3.ไฟแนนซ์จะยึดรถไม่ได้หากเราไม่ยินยอม

    ถ้าหากมีการบังคับ ข่มขู่ หรือขับไล่ให้ผู้เช่าซื้อลงจากรถ หรือกระชากกุญแจรถไป หรือแม้แต่เอากุญแจสำรองมาเปิดรถ และขับหนีไปถือว่าทำความผิดต่อเสรีภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 และถ้ากระทำการโดยมีอาวุธหรือร่วมกระทำความผิดด้วยกัน ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เพราะฉะนั้นถ้ามีคนกระทำการดังกล่าวให้ถ่าย รูปหรือบันทึกเสียงไว้เป็นหลักฐาน และแจ้งความดำเนินคดีอาญาได้เลย สามารถแจ้งความได้ทันทีหากถูกบังคับ หรือยึดรถไปด้วยวิธีไม่สมัครใจ

    4.หากถูกไฟแนนซ์ยึดรถ จะหมดอำนาจต่อรองทันที

    การปล่อยให้ถูกยึดรถ โดยไม่จ่ายชำระค่างวดเป็นเวลานาน หลังจากถูกยึดคุณจะไม่สามารถไกล่เกลี่ยใดๆ ได้ ซึ่งทางบริษัทจะนำรถมอเตอร์ไซค์ของคุณไปขายต่อทอดตลาด ซึ่งราคาจะต่ำกว่ายอดค้างชำระที่คุณคงค้างอยู่และทางบริษัทจะต้องมาเรียกเก็บค่าส่วนต่างเสียหายจากคุณได้อีก คือ รถถูกและแต่ยังเป็นหนี้อยู่นั่นเอง

    5.หากไฟแนนซ์เรียกค่าเสียหายสูงเกินไป สามารถใช้อำนาจทางกฎหมายสู้คดีได้

    ในกรณีที่เราถูกยึดรถไปแล้ว และไฟแนนซ์มีหนังสือแจ้งให้ชำระหนี้ส่วนที่เหลือ หากพิจารณาแล้วเกินกว่าเหตุที่ต้องจ่ายจนเกินไป คุณสามารถจ้างทนายความเพื่อสู้คดีได้ เพราะค่าเสียหายของไฟแนนซ์มักจะเรียกสูงพอสมควร แต่ศาลมักพิพากษาให้จ่ายเพียง 30% หรือครึ่งเดียวเท่านั้น

    6.หากแพ้คดี ต้องชดใช้ด้วยการยึดทรัพย์

    หากเกิดแพ้คดี ทางบริษัทไฟแนนซ์จะดำเนินการทำหมายยึดทรัพย์ของเราที่ถือครองในนามชื่อของคุณ เพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหายตามความจริง แต่ถ้าเราคุณไม่มีทรัพย์สินที่เป็นชื่อของคุณ ทางบริษัทก็จะไม่สามารถยึดทรัพย์ของญาติ ครอบครัว หรือผู้ใกล้ชิดคนอื่นได้ ซึ่งก็คือคุณต้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว ผู้อื่นจะไม่มาเดือดร้อนด้วย

    7.ถ้าไม่มีเงินจ่ายไฟแนนซ์จะติดคุกหรือไม่?

    กรณีไม่มีเงินชำระค่าเสียหายจากการฟ้องร้องคดีความเรื่องผ่อนชำระเรื่องรถนั้น คุณจะไม่ต้องโทษถึงติดคุก เนื่องจากกรณีนี้เป็นคดีความทางแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญา แต่จะต้องทำการชำระให้หมดสิ้นภายในระยะเวลาที่ตกลงกันได้ ไม่อย่างนั้นจะมีการชดเชยค่าเสียหายไปเรื่อยๆ จนคุณอาจจะไม่มีทางฟื้นสภาพทางการเงินได้อีก

    หากรู้อย่างนี้แล้ว ก่อนจะตัดสินใจซื้อรถสักคันที่มีราคาสูงเกินกว่าความสามารถของคุณจะรับผิดชอบได้ จะต้องเบรกการตัดสินใจนี้เอาไว้ก่อน เพื่อรอให้ภาระหน้าที่การงาน และการเงินมั่นคง ก่อนที่จะต้องมาเป็นหนี้สิน คดีความใหญโต


     

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts