More

    จอดรถ ในที่จอดรถ”คนพิการ” ผิดกฎหมายหรือไม่?

    ในลานจอดรถตามสถานที่ต่าง ๆ จึงต้องมี ที่จอดรถคนพิการ ไว้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการ หรือทุพพลภาพ รวมถึงคนชรา โดยจะต้องออกแบบที่จอดรถผู้พิการให้มีพื้นที่มากพอสำหรับการเตรียมตัวและอุปกรณ์ อาทิ รถเข็น หรือไม้เท้า ฯลฯ พร้อมสร้างพื้นที่ให้ผู้พิการและผู้ดูแลสามารถเข้า-ออกได้อย่างไม่ลำบาก ซึ่งจะเห็นได้ตามปั้มน้ำมัน หรือห้างร้านต่าง ๆ

    ที่จอดรถคนพิการ

    โดยกฎกระทรวง ระบุไว้ว่า ที่จอดคนพิการจะต้องเป็นพื้นผิวเรียบเสมอกัน โดยต้องเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมพื้นผ้าที่มีความกว้างไม่ต่ำกว่า 2.4 เมตร ยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตร และต้องมีระยะห่างข้างตัวรถไม่ต่ำกว่า 1 เมตร ที่สำคัญยังต้องมีสัญลักษณ์รูปคนพิการที่เห็นได้ชัดเจน และมีความกว้าง-ความยาวไม่ต่ำกว่า 900 มิลลิเมตร อยู่ในช่องนั้น ๆ ด้วย

    นอกจากนี้ ยังต้องมีป้ายแสดงที่จอดรถผู้พิการ หรือทุพพลภาพ และคนชรา ขนาดกว้างและยาวไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร ติดตั้งอยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 2 เมตร หรือติดตั้งบนผนังของช่องจอดรถ ขนาดกว้างและยาวไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร อยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร

    ที่จอดรถคนพิการ

    ตามกฎกระทรวงกําหนดสิ่งอํานวยความสะดวกในอาคารสําหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 ระบุไว้ว่า สถานที่สาธารณะต่าง ๆ เช่น สถานที่ราชการ โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า ตลาด โรงแรม ฯลฯ จะต้องมีที่จอดคนพิการ

    • ที่จอดรถไม่เกิน 25 คัน ต้องมีที่จอดรถคนพิการไม่น้อยกว่า 1 คัน
    • ที่จอดรถตั้งแต่ 26 คัน แต่ไม่เกิน 50 คัน ต้องมีที่ จอด รถ ผู้ พิการไม่น้อยกว่า 2 คัน
    • ที่จอดรถตั้งแต่ 51 คัน แต่ไม่เกิน 75 คัน ให้มีที่จอดคนพิการไม่น้อยกว่า 3 คัน
    • ที่จอดรถตั้งแต่ 76 คัน แต่ไม่เกิน 100 คัน ให้มีที่จอดรถคนพิการไม่น้อยกว่า 4 คัน
    • ที่จอดรถตั้งแต่ 101 คัน แต่ไม่เกิน 150 คัน ต้องมีที่จอดรถผู้พิการไม่น้อยกว่า 5 คัน
    • ที่จอดรถตั้งแต่ 151 คัน แต่ไม่เกิน 200 คัน ให้มีที่ จอด รถ ผู้ พิการไม่น้อยกว่า 6 คัน และเพิ่มขึ้นอีก 1 คัน สําหรับที่จอดรถทุกจํานวนรถ 100 คันที่เพิ่มขึ้น เศษของ 100 คัน หากเกินกว่า 50 คัน ให้คิดเป็น 100 คัน

    ที่จอดรถคนพิการ

    ที่จอดรถคนพิการ คนปกติสามารถจอดได้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือเปล่า?

    ว่ากันตามกฎหมาย ที่จอดรถผู้พิการ ไม่ได้ปรากฏสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายห้ามจอดแต่อย่างใด หากถามว่าจอดแล้วผิดกฎหมายหรือไม่ คำตอบคือไม่ผิดกฎหมาย แต่ควรเอื้อเฟื้อไว้ให้คนพิการและทุพพลภาพ รวมถึงคนชรา ซึ่งจัดว่าเป็นบุคคลที่มีข้อจำกัดในการดำเนินชีวิต ได้รับความสะดวกสบายจะดีกว่า

    ใครบ้างที่สามารถใช้ที่จอดรถผู้พิการได้ ?

    “ผู้สูงอายุที่จอดในที่จอดรถคนพิการ คือถ้าเรามีผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็น ใช้วอคเกอร์ หรือเดินไม่สะดวก ก็มีสิทธิจอดได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ใช่แบบนั้น แต่จะมีคนถืออภิสิทธิ์เข้าไปจอดเลย เพราะที่จอดจะอยู่ใกล็กับทางเข้าออกมากที่สุดตรงนี้จึงเป็นประเด็นที่มีรถหรู รถตำรวจไปจอด โดยไม่มีใครกล้าว่า เพราะมีทิปให้รปภ.ที่ละ100 บ้าง ส่วนตำรวจก็ไม่มีใครกล้าแตะ ซึ่งผู้สูงอายุเองค่อนข้างจะเป็นปัญหานิดหนึ่งคือเราก็ต้องการให้มีการสติกเกอร์ แต่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ญาติจะขับให้และไม่ต้องการที่จะติดสติกเกอร์คนพิการด้วย เราจึงกำลังพูดคุยกับสภาผู้สูงอายุแห่งชาติให้นำสัญลักษณ์ผู้สูงอายุมาทำเป็นป้ายติดรถด้วย รวมทั้งลักษณะของคนบาดเจ็บ-พิการ ชั่วคราวเอง ก็ได้สามารถจอดรถบนที่จอดรถผู้พิการได้  ถ้าเห็นๆ กันอยู่ว่าลงมาใช้ไม้ค้ำยัน ใช้ไม้เท้า”

    ที่จอดรถคนพิการ

    ถึงแม้จะไม่ถึงขั้นผิดกฎหมาย แต่การจอดรถบนที่จอดผู้พิการนั้นเป็นเรื่องของสามัญสำนึก มีหลายคนทีมีทัศนคติที่คิดเพียงแค่เอาสะดวกตัวเอง ว่าที่จอดรถของผู้พิการนั้น นาน ๆ ครั้งจะมีคนที่พิการมาจอดใช้บริการ หรืออาจจะแทบไม่มีมาเลย ทำให้บางคนเกิดความมักง่ายและขาดจิตสำนึก ดังนั้นควรแบ่งปันเพื่อนร่วมทางเอาไว้ให้เป็นเรื่องราวดี ๆ กันนะคะ


    บทความอื่น ๆ

    อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts