More

    ‘กฎสเกลเลื่อน’ F1 2023 ใครได้สิทธิทดสอบแอโรเท่าไรบ้าง?

    F1 ได้ริเริ่มการใช้ ‘กฎสเกลเลื่อน’ ซึ่งเป็นกฎที่ควบคุมจำนวนการใช้งานอุโมงค์ลมและการคำนวณทาง CFD (การสร้างแบบจำลองในคอมพิวเตอร์) มาตั้งแต่จบฤดูกาล 2021 โดยจำนวนการใช้งานจะถูกแบ่งลำดับลดหลั่นกันไปตามผลงานที่แต่ละทีมทำได้ในฤดูกาลก่อนหน้า

    กฎนั้นได้ระบุ ‘การจัดสรรขั้นพื้นฐาน’ ที่จะอนุญาตให้ทีมแข่งสามารถทำ ‘การทดสอบทางอากาศพลศาสตร์ในหนึ่งช่วงเวลา (Aerodynamic Testing Period – ATP)’ ซึ่งจะมีจำนวนทั้งหมด 6 ช่วงในหนึ่งฤดูกาล ด้วยจำนวนการใช้งานอุโมงค์ลม 320 รัน แต่ละครั้งที่ใช้งานไม่เกิน 80 ชั่วโมง และใช้เวลาทำงานในอุโมงค์ลมได้ทั้งหมด 400 ชั่วโมง

    ผลงานที่แต่ละทีมทำได้จะถูกคูณเข้าไปด้วยค่าเปอร์เซ็นต์ โดยแชมป์โลกประเภททีมจะถูกคูณด้วยจำนวน 70% ในขณะที่ทีมที่จบอันดับสุดท้ายจะถูกคูณด้วย 115% นั่นหมายความว่าทีมที่จบการแข่งขันในอันดับสูงกว่าจะถูกลดระยะเวลาการทดสอบลง ตรงกันข้ามกับทีมที่จบในอันดับท้าย ๆ ซึ่งจะได้เวลาการทดสอบที่เพิ่มขึ้น และกฎนี้ยังใช้กับการคำนวณทาง CFD ด้วยเช่นกัน

    กฎสเกลเลื่อน F1 2023

    ตารางตัวเลขการใช้งานอุโมงค์ลม + CFD ของแต่ละทีม

    ค่าพื้นฐาน Red Bull 1st 2nd 3rd 4th 5th 6th 7th 8th 9th 10th
    ตัวคูณ 100% 63% 70% 75% 80% 85% 90% 95% 100% 105% 110% 115%
    จำนวนการทำงาน (รัน) 320 201.6 224 240 256 272 288 304 320 336 352 368
    เวลาใช้งาน (ชั่วโมง) 80 50.4 56 60 64 68 72 76 80 84 88 92
    เวลาทำงาน (ชั่วโมง) 400 252 280 300 320 340 360 380 400 420 440 460
    แบบเรขาคณิต (แบบ) 2000 1260 1400 1500 1600 1700 1800 1900 2000 2100 2200 2300
    ขีดจำกัดการแก้ปัญหาทาง CFD (MAuh) 6 3.78 4.2 4.5 4.8 5.1 5.4 5.7 6 6.3 6.6 6.9

     

    หมายเหตุ

    • การใช้งานอุโมงค์ลมนั้นจะถูกกำหนดเป็นช่วงการทำงาน โดยการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของความเร็วลมมากกว่า 5 m/s จะถือว่าเป็นการใช้งานคนละครั้ง
    • ระยะเวลาที่ใช้ในอุโมงค์ลมจะถูกนับว่ามีการใช้งานเมื่อมีการใช้ความเร็วลมมากกว่า 15 m/s
    • ระยะเวลาทำงานในอุโมงค์ลมจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อมีความเร็วลมในอุโมงค์มากกว่า 5 m/s ในวันที่ปฏิทินกำหนด และจะสิ้นสุดตามเวลาที่ประกาศโดยทีมแข่งเมื่อมีความเร็วลมในอุโมงค์ต่ำกว่า 5 m/s
    • แบบเรขาคณิตแบบหนึ่ง ๆ หมายถึง แบบจำลองที่ไม่ต่อเนื่องกันภายใน CFD จะถูกนับเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นกับโมเดลหรือแบบเรขาคณิต
    • ขีดจำกัดการแก้ปัญหาทาง CFD ถูกกำหนดเป็นฟังก์ชันของเวลาที่ใช้ในการประมวลผลการจำลองเป็นวินาที จำนวนคอร์ที่ใช้ และพลังการประมวลผลในหน่วย GHz โดยรวมทั้งหมดข้างต้นเข้าด้วยกันกลายเป็นหน่วยใหม่ที่เรียกว่า ‘หน่วยการจัดสรรเมกะชั่วโมง (Mega Allocation unit hours – MAuh)’
    • Red Bull ถูกลงโทษลดจำนวนการใช้งานลงอีก 10% ซึ่งจะเท่ากับ 63% ของการจัดสรรขั้นพื้นฐาน

    อ้างอิง : motorsport.com

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts